วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

11 พฤศจิกายน 2558


  • เช็กชื่อ (เรียนคาบสุดท้าย)
  • ส่งแผนการสอน + สื่อการสอน และอัพวิดีโอการนำสื่อไปทดลองสอนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  •  บอกแนวข้อสอบ (กาเย่ 9 ขั้น , การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม , ถ้าเราเป็นครูจะมีวิธีการสอนอย่างไร)


...วิดีโอ การนำสื่อไปทดลองสอน 1 ชั่วโมง...
"โรงเรียนวัดไผ่ล้อม จ.จันทบุรี"
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3



Off course ... Good Bye!!!!


วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

21 ตุลาคม 2558



- เช็กชื่อ
- ส่งแผนเรื่องการจัดทำรายงานครั้งที่ 1
  ต้องกลับมาแก้ไขใหม่หมดเลย ทำผิดรูปแบบ เพราะไม่ได้ใส่กาเย่ 9 ข้อ ลงในแผนการสอน

-เพื่อนที่เขียนแผนผ่านแล้ว ให้เสนอโปรแกรมที่จะนำไปสอนเป็นเวลา 1 ชม.


วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

4 พฤศจิกายน 2558

  • เช็กชื่อ
  • เสนอสื่อการสอน ที่ทำในโปรแกรม Flash ตามหัวข้อที่ตนเองได้รับ พร้อมกับส่งแผนที่แก้(ใหม่)อีกครั้ง(บางคู่) >>> อ.ชวนพบให้คำชี้แนะเกี่ยวกับสื่อการสอน
  • เมื่อเสนอสื่อเสร็จ จะได้รับใบขออนุญาต ในการออกทดลองเป็นเวลา 1 ชม. (โรงเรียนเลือกเอง) [รับใบขออนุญาตได้ที่ อ.ชวนพบ]


อย่าลืม!!!!

ออกไปทดลองสอนสื่อที่ตัวเองจัดทำขึ้น + ถ่ายวิดีโอ พร้อมไลด์งานใส่แผ่น CD
***ส่งงานครั้งสุดท้าย วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ***



วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

28 ตุลาคม 2558

- เช็คชื่อ
- ให้ นศ. ส่งแผนการสอน (ที่ได้นำกลับไปแก้ไข) ครั้งที่ 2
- เสนอสื่อ โดยใช้โปรแกรม Flash ในหัวข้อที่จับฉลากได้ โดยออกแบบสื่อเพื่อเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ


* * * ง า น * * * 

  • สื่อสมบูรณ์ภายในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 ไปปรึกษาครูโรงเรียนสาธิต
    (comment เนื้อหา + วิธีนำเสนอ)
  • ทดสอบการใช้แผนการเรียนรู้ (วันที่ 4 - 10 พศจิกายน 2558)
  • ส่งงานวันที่ 11 พศจิกายน 2558 (วันสุดท้าย ถ้าเกินนี้ไม่รับ!!!!!) 


วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

14 ตุลาคม 2558

จับคู่ทำงาน [จันจิรา & จรรยา]

การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
(Behavioral objectives)

  • จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

     เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ระบุเป็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่ผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนได้พัฒนาผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การระบุเป็นเชิงพฤติกรรมจะช่วยให้ครูประเมินผลผู้เรียนได้

  • คำกริยาแสดงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยตามลำดับ การเรียนรู้ 6 ขั้น

*** การบ้าน ****
จับคู่เขียนแผนการสอนเวลา 1 ชั่วโมง (หัวข้อตามที่เคยจับฉลากได้)
พิมพ์+ปริ้น >>> ส่ง 21 ต.ค. 58


วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

23 กันยายน 2558

จับคู่เวลา 16.00 น. [ จันจิรา & สุวนันท์ ]
ทายภาพ ป้ายจราจร 30 ป้าย




  • ความหมายของการถ่ายโยงการเรียนรู้
      การถ่ายโยงการเรียนรู้ หมายถึง การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วในอดีตมาใช้แก้ปัญหา หรือนำมาสัมพันธ์กับสถานการณ์ใหม่ ๆ ในปัจจุบันหรืออนาคต


>> ทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้ <<
  1. ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวกัน (Identical-elements) ของ Edward Lee Thondike, 1913
  2. ทฤษฎีการสรุปรวม (Generalization)
  3. ทฤษฎีความคล้ายคลึงกันของการประมวลผลสารสนเทศ (Similarity of information processing)

  • ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวกัน (Identical-elements)
      เชื่อว่าการถ่ายโยงเกิดขึ้นเมื่อองค์ประกอบในสถานการณ์แรกเหมือนกับองค์ประกอบในสถานการณ์ใหม่ ผู้สอนควรสอยความรู้และทักษะในชั้นเรียนให้เหมือนกับที่พบในชีวิตประจำวัน


  • การสอนให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้
- .ในการสอนควรชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ได้ในอนาคตและควรจะให้โอกาสฝึกหัดจนจำได้
- การสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
- สอนในสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้โดยตรง
- สอนหลักการ วิธีดำเนินการ ทักษะ และวิธีการแก้ปัญหา ที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
- จัดสภาพในโรงเรียนให้คล้ายคลึงกับชีวิตจริงที่นักเรียนจะไม่ประสบนอกโรงเรียน เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ควรจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม มีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรู้จักยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
- ควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกหัดงานที่จะต้องออกไปทำจริง ๆ จนมีความมั่นใจ
- เมื่อสอนหลักเกณฑ์หรือความคิดรวบยอด ควรจะให้โอกาสนักเรียนได้เห็นตัวอย่างหลาย ๆ อย่าง

  • ทฤษฎีความคล้ายคลึงกันของการประมวลผลสารสนเทศ
กิจกรรมแรก > ผู้เรียนเข้าใจหลักการ/แนวคิดของกิจกรรม > ปฏิบัติจนสำเร็จ

กิจกรรมที่สอง > ใช้พื้นฐานความรู้จากกิจกรรมแรก > ปฏิบัติจนสำเร็จ  > เกิดองค์ความรู้ใหม่จากการปฏิบัติ

  • ประเภทของการถ่ายโยงการเรียนรู้
  1. การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก หมายถึง การเรียนรู้เดิมที่เคยเรียนรู้แล้ว ช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วขึ้น เช่น ขี่รถจักรยานเป็นแล้ว ทำให้ขี่รถมอเตอไซด์เป็นได้เร็วขึ้น
  2. การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ หมายถึง การเรียนรู้เดิมทำให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ช้าลงหรือความรู้เดิมไปขัดกับความรู้ใหม่นั่นเอง เช่น เคยเปิดประตูด้วยการผลักพอเจอประตูที่ต้องดึง เรามักจะใช้ทักษะเดิมทำให้เปิดประตูได้ช้าลง

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

9 กันยายน 2558

จับคู่เวลา 17.00 น. [จันจิรา & คมกริช]


... Learning Psychology ...

จิตวิทยาการเรียนรู้



  • จิตวิทยาที่ส่งอิทธิพลต่อการเรียนรู้
  1. การรับรู้
  2. แรงจูงใจและการจูงใจ
  3. การเสริมแรง
  4. แบบการเรียนรู้


    การรับรู้ หมายถึง กระบวนการแปรความหมายต่อสิ่งที่รู้สึกได้จากการใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory organ) ได้แก่ ตา หู ลิ้น จมูก และร่างกาย และอวัยวะรับสัมผัสภายใน ได้แก่ ประสาทในกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อของกระดูก


  • การรับรู้กับการเรียนการสอน
  1. ถ้าไม่มีการรับรู้ จะไม่มีการเรียนรู้
  2. ยิ่งผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสมากยิ่งเรียนรู้มาก
  3. การรับรู้ที่ถูกต้อง เช่น การใช้รูปภาพเพื่อสื่อความหมายต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้เหมือนหรือใกล้เคียงกัน
  4. ความคิดรวบยอดจากรูปธรรมไปนามธรรม เช่น ความกลม เป็นต้น


  • แรงจูงใจและการจูงใจ (Motive and motivation)
      การจูงใจเป็นกระบวนการที่ควบคุมและรักษาพฤติกรรมให้คงไว้ ตัวอย่างเช่น


A ต้องการสอบให้ได้ที่ 1 (สิ่งเร้า) 
ขยัน อดทน พากเพียร (พฤติกรรม) 
พ่อแม่ดีใจ (จุดมุ่งหมาย)


  • เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้
       แรงจูงใจ (Motive) กับการจูงใจ (Motivation) นั้นแตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะ การจูงใจ เป็นกระบวนการและเทคนิควิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้น
                        
MotivationMotive

  • ประเภทของแรงจูงใจ
  1. Intrinsic motive เช่น ความรู้สึกพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ เป็นต้น
  2. Extrinsic motive เช่น คะแนน ของรางวัล คำชมเชย การยอมรับจากบุคคลอื่น

  • แรงจูงใจกับการเรียนการสอน
  1. สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานและเล่นด้วยกัน
  2. ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและเคารพในตัวผู้เรียน
  3. ใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยง่าย และเร้าความสนใจ
  4. ไม่ข่มขู่คุกคามผู้เรียน
  5. รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน


  • การเสริมแรง (Reinforcement)
      การเสริมแรงเป็นการให้สิ่งใด ๆ หลังจากเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว เพื่อให้แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สิ่งต่าง ๆ ที่ให้นั้นเรียกว่า "ตัวเสริมแรง" สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
  1.  ตัวเสริมแรงทางบวก เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนพึงพอใจและแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
  2. ตัวเสริมแรงทางลบ เป็นสิ่งที่นำออกไปแล้วจะทำให้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นเพิ่มมากขึ้น


  • Positive reinforcement
  1. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นสิ่งของ เช่น อาหาร ขนม ของรางวัล คะแนน ของเล่น เป็นต้น
  2. ตัวเสริมแรงทางบวกทางสังคม
  3. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นกิจกรรม เช่น การเลือกทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ต้องการ การเล่มเกม กีฬา การสนทนากับเพื่อน


  • Negative reinforcement
      เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการหลีกเลี่ยง ไม่พึงพอใจ และหาทางออกโดยการแสดงพฤติกรรมอื่นแทน ตัวเสริมแรงทางลบ เช่น คำพูดเยาะเย้ย ประชดประชัน เสียดสี หรือข่มขู่ การวิพากษ์วิจารย์ การดุ การหักคะแนน การให้ยืนหน้าห้องเรียนหรือให้ออกนอกห้องเรียน
       หลักการทั่วไปของการเสริมแรง
  1. เสริมแรงทันที
  2. แสดงพฤติกรรมที่ต้องการก่อนจึงจะได้รับตัวเสริมแรง
  3. ระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์และตัวเสริมแรงให้ชัดเจน เช่น ปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้รางวั
  4. พฤติกรรมใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไม่ควรเสริมแรง

  • Learning Styles
      แบบการเรียนรู้เป็นลักษณะหรือวิธีการจำเพาะของแต่ละบุคคลที่ใช้ในการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ และจดจำข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ต่าง ๆ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้
ปัจจัยที่ทำให้คนมีแบบการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน
  1. เพศ
  2. อายุ
  3. ระดับการศึกษา
  4. กระบวนการทางสมอง
  5. วัฒนธรรม
  6. ทักษะการคิด

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

2 กันยายน 2558

[จับคู่รอบ 14.00 น.] ...จันจิรา & วาริณี...






  •  แผนการจัดการเรียนรู้
ความหมายที่ 1 : การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดภาคเรียน
ความหมายที่ 2 : เน้นให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนด้วยด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย  มีครูคอยให้คำแนะนำและมีการจัดทำแผนการเรียนรู้

# เสริม
            กรมวิชาการ  (2546. หน้า 1 - 2) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า  แผนการจัดการเรียนรู้  หมายถึง  แผนซึ่งครูเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  โดยวางแผนการจัดการเรียนรู้  แผนการใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้  แผนการวัดผลประเมินผลโดยการวิเคราะห์จากคำอธิบายรายวิชาหรือหน่วยการเรียนรู้  ซึ่งยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ที่กำหนด  อันสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น 
          อาภรณ์  ใจเที่ยง (2546. หน้า 213)  แผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนการเรียนรู้  เป็นคำใหม่ที่นำมาใช้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  เหตุที่ใช้คำ  แผนการจัดการเรียนรู้”  แทนคำ  แผนการสอน”  เพราะต้องการให้ผู้สอนมุ่งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่บ่งไว้ในมาตรา  22  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2544  ที่กล่าวไว้ว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
          สุวิทย์  มูลคำ  (2549. หน้า 58)  แผนการจัดการเรียนรู้  คือ  แผนการเตรียมการสอนหรือกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ มากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

  •  ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
          สงบ ลักษณะ.  (2533. หน้า 1)  แผนการสอน  คือการนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำแผนการสอนตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน และการวัดผลประเมินผลโดยจัดเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนย่อยๆให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร  สภาพของผู้เรียน  ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์และตรงกับชีวิตจริง
          เอกรินทร์ สี่มหาศาล  (2545. หน้า 409)  ได้กล่าวถึง  ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ว่า  การวางแผนจัดการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้สอนทราบว่า  ในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละชั่วโมงผู้สอนควรจะสอนรายวิชาใด ขอบข่ายสาระการเรียนรู้ครอบคลุมเรื่องราวอะไรบ้าง รวมทั้งการสำรวจสภาพปัญหาต่าง  ๆ  ที่จะช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้และสามารถทำการประเมินผลผู้เรียนทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  ได้ตามเป้าหมาย

  •  องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
  1. สาระสำคัญ  :  ความคิดรวบยอด  (Concept)
  2. จุดประสงค์การเรียนรู้  :  จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  (สามารถสังเกตได้)
  3.  สาระการเรียนรู้
  4. กิจกรรมการเรียนรู้  :  วิธีการสอน  +  กระบวนการการจัดกิจกรรม  +  เทคนิคการสอน
  5. สื่อ  แหล่งเรียนรู้  ใบความรู้  ใบงาน  +  แบบฝึกทักษะ
  6. การวัดและประเมินผล  หลักฐานการเรียนรู้  ร่องรอยการเรียนรู้  วิธีการวัดและประเมินผล  เครื่องมือในการวัดและประเมินผล
  7. บันทึกผลการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สอน
  •  หลักในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
  1. เขียนให้ชัดเจน  แจ่มแจ้งในทุกหัวข้อ
  2. ในภาษาเขียนที่สื่อมีความหมายให้เข้าใจได้ตรงกัน
  3. เขียนทุกข้อ  ทุกหัวเรื่องให้สอดคล้องกัน
  4. สาระสำคัญต้องสอดคล้องกับเนื้อหา
  5. จุดประสงค์ต้องสอดคล้องกับเนื้อหากิจกรรมและการวัดผล
  6. สื่อการสอนต้องสอดคล้องกับกิจกรรมและการวัดผล
  7. เขียนให้เป็นลำดับขั้นตอนก่อน - หลังในทุกหัวข้อ
  8. เขียนหัวข้อให้ถูกต้อง   เช่น  จุดประสงค์ต้องเขียนให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  9. จัดเนื้อหา  กิจกรรม  ให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้
  10. คิดกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่เสมอ
  11. เขียนให้เป็นระบบ  ง่ายแก่การอ่าน
  12.  เขียนในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริง
  13. หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
          (รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้)
          แผนการจัดการเรียนรู้ที่สถานศึกษาเลือกใช้ควรเป็นแบบเดียวกันตลอดแนว  และสื่อความหมายชัดเจน

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Bloom’s Taxonomy





กิจกรรม (งานคู่)
คำสั่ง  ให้เขียนจุดประสงค์ของเรื่องที่กำหนดให้  ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง 
เรื่อง  คอมพิวเตอร์
จุดประสงค์
  1. บอกชื่อและหน้าที่ของอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง
  2. บอกประโยชน์และโทษจากการใช้คอมพิวเตอร์ได้
*********************************************************************************
Case 1
                เรื่อง  ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
จุดประสงค์
1.             บอกชื่อและหน้าที่ของประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2.             บอกประโยชน์ของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศได้

Case 2


                เรื่อง  การรับข้อมูลของอุปกรณ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
จุดประสงค์
1.             อธิบายการรับข้อมูลของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศได้
2.             บอกวิธีจัดเก็บข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและประเภทได้เหมาะสม

Case 3
                เรื่อง  การจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์
จุดประสงค์
1.             อธิบายการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้
2.             สร้างแฟ้มสำหรับเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้
3.             เปลี่ยนชื่อแฟ้มสำหรับเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้

Case 4
                เรื่อง  โปรแกรม paint
จุดประสงค์
1.             ใช้เครื่องมือในการวาดภาพของโปรแกรม paint ได้
2.             วาดภาพโดยใช้โปรแกรม paint ตามขั้นตอนได้

Case 5
                เรื่อง  การวาดภาพสวยโดยใช้โปรแกรม paint
จุดประสงค์
1.            วาดภาพโดยใช้โปรแกรม paint ได้
2.      ออกแบบชิ้นงานโดยใช้โปรแกรม paint ได้