วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

9 กันยายน 2558

จับคู่เวลา 17.00 น. [จันจิรา & คมกริช]


... Learning Psychology ...

จิตวิทยาการเรียนรู้



  • จิตวิทยาที่ส่งอิทธิพลต่อการเรียนรู้
  1. การรับรู้
  2. แรงจูงใจและการจูงใจ
  3. การเสริมแรง
  4. แบบการเรียนรู้


    การรับรู้ หมายถึง กระบวนการแปรความหมายต่อสิ่งที่รู้สึกได้จากการใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory organ) ได้แก่ ตา หู ลิ้น จมูก และร่างกาย และอวัยวะรับสัมผัสภายใน ได้แก่ ประสาทในกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อของกระดูก


  • การรับรู้กับการเรียนการสอน
  1. ถ้าไม่มีการรับรู้ จะไม่มีการเรียนรู้
  2. ยิ่งผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสมากยิ่งเรียนรู้มาก
  3. การรับรู้ที่ถูกต้อง เช่น การใช้รูปภาพเพื่อสื่อความหมายต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้เหมือนหรือใกล้เคียงกัน
  4. ความคิดรวบยอดจากรูปธรรมไปนามธรรม เช่น ความกลม เป็นต้น


  • แรงจูงใจและการจูงใจ (Motive and motivation)
      การจูงใจเป็นกระบวนการที่ควบคุมและรักษาพฤติกรรมให้คงไว้ ตัวอย่างเช่น


A ต้องการสอบให้ได้ที่ 1 (สิ่งเร้า) 
ขยัน อดทน พากเพียร (พฤติกรรม) 
พ่อแม่ดีใจ (จุดมุ่งหมาย)


  • เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้
       แรงจูงใจ (Motive) กับการจูงใจ (Motivation) นั้นแตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะ การจูงใจ เป็นกระบวนการและเทคนิควิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้น
                        
MotivationMotive

  • ประเภทของแรงจูงใจ
  1. Intrinsic motive เช่น ความรู้สึกพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ เป็นต้น
  2. Extrinsic motive เช่น คะแนน ของรางวัล คำชมเชย การยอมรับจากบุคคลอื่น

  • แรงจูงใจกับการเรียนการสอน
  1. สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานและเล่นด้วยกัน
  2. ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและเคารพในตัวผู้เรียน
  3. ใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยง่าย และเร้าความสนใจ
  4. ไม่ข่มขู่คุกคามผู้เรียน
  5. รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน


  • การเสริมแรง (Reinforcement)
      การเสริมแรงเป็นการให้สิ่งใด ๆ หลังจากเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว เพื่อให้แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สิ่งต่าง ๆ ที่ให้นั้นเรียกว่า "ตัวเสริมแรง" สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
  1.  ตัวเสริมแรงทางบวก เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนพึงพอใจและแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
  2. ตัวเสริมแรงทางลบ เป็นสิ่งที่นำออกไปแล้วจะทำให้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นเพิ่มมากขึ้น


  • Positive reinforcement
  1. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นสิ่งของ เช่น อาหาร ขนม ของรางวัล คะแนน ของเล่น เป็นต้น
  2. ตัวเสริมแรงทางบวกทางสังคม
  3. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นกิจกรรม เช่น การเลือกทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ต้องการ การเล่มเกม กีฬา การสนทนากับเพื่อน


  • Negative reinforcement
      เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการหลีกเลี่ยง ไม่พึงพอใจ และหาทางออกโดยการแสดงพฤติกรรมอื่นแทน ตัวเสริมแรงทางลบ เช่น คำพูดเยาะเย้ย ประชดประชัน เสียดสี หรือข่มขู่ การวิพากษ์วิจารย์ การดุ การหักคะแนน การให้ยืนหน้าห้องเรียนหรือให้ออกนอกห้องเรียน
       หลักการทั่วไปของการเสริมแรง
  1. เสริมแรงทันที
  2. แสดงพฤติกรรมที่ต้องการก่อนจึงจะได้รับตัวเสริมแรง
  3. ระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์และตัวเสริมแรงให้ชัดเจน เช่น ปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้รางวั
  4. พฤติกรรมใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไม่ควรเสริมแรง

  • Learning Styles
      แบบการเรียนรู้เป็นลักษณะหรือวิธีการจำเพาะของแต่ละบุคคลที่ใช้ในการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ และจดจำข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ต่าง ๆ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้
ปัจจัยที่ทำให้คนมีแบบการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน
  1. เพศ
  2. อายุ
  3. ระดับการศึกษา
  4. กระบวนการทางสมอง
  5. วัฒนธรรม
  6. ทักษะการคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น